พื้นฐานความรู้ที่ควรมี
1. อธิบายความหมายบของ อนาล็อค และดิจิตอลคอมพิวเตอร์ได้
2. อธิบายถึงชนิดของคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ได้
3. สามารถบอกถึงขั้นตอนและวิธีการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ได้
1.1 บทนำ
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า "คอมพิวเตอร์" ถ้าจะแปลตรงตามตัวคำภาษาอังกฤษจะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้างๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่สมัยก่อนเคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุค 40 กว่าปีก่อน หรือ เครื่องคิดเลขล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
รูปที่ 1 แสดงรูปภาพ
1.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผล และเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ. 2542 ได้ให้จำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer) และดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
1.3 อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)
อนาล็อกคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักการในการคำนวณแต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม่บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักในการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเล็กกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกอบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง อนาล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขแนวยาวของไม้บรรทัด
อนาล็อกคอมพิวเตอร์ จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำ และเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์จึงเหมาะสำหรับการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหวข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าเพื่อนำเข้าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไำฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปร ที่กำลังศึกษา
ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นอนาล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนัก เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะอย่างเท่านั้น
รูปที่ 2 แสดงภาพอนาล็อกคอมพิวเตอร์
1.4 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิตอลคอมพิวเตอร์แทบจะทั้งหมด ดิจิตอลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ เป็นแบบลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นระบบเลขฐานสิบที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถึงเก้าได้สิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกันแต่จะเป็นระบบเลขฐาน 2 ที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียง 2 ตัว คือเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้น เลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังคงเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย
1.5 ชนิดของคอมพิวเตอร์
พัฒนา การ ทางคอมพิวเตอร์ ได้ ก้าว หน้า ไป อย่าง รวด เร็ว และ ต่อ เนื่อง จาก อดีต เป็น อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ ใช้ หลอดสุญญากาศขนาด ใหญ่ ใช้ พลัง งาน ไฟ ฟ้า มาก และ อายุ การ ใช้ งาน ต่ำ เปลี่ยน มา ใช้ ทรานซิสเตอร์ ที่ ทำ จาก ชิน ซิ ลิ กอนเล็ก ๆ ใช้ พลัง งาน ไฟ ฟ้า ต่ำ และ ผลิต ได้ จำนวน มาก ราคา ถูก ต่อ มา สามารถ สร้าง ทรานซิสเตอร์ จำนวน หลาย แสน ตัว บรรจุ บน ชิ้น ซิ ลิ กอนเล็ก ๆ เป็น วง จร รวม ที่ เรียก ว่า ไมโคร ชิป (microchip) และ ใช้ ไมโคร ชิปเป็น ชิ้น ส่วน หลัก ที่ ประกอบ อยู่ ใน คอมพิวเตอร์ ทำ ให้ ขนาด ของ คอมพิวเตอร์ เล็ก ลง
ไมโคร ชิปที่ มี ขนาด เล็ก นี้ สามารถ ทำ งาน ได้ หลาย หน้า ที่ เช่น ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ความ จำ สำหรับ เก็บ ข้อ มูล ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ควบ คุม อุปกรณ์ รับ เข้า และ ส่ง ออก หรือ ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ประมวล ผล กลาง ที่ เรียก ว่า ไมโคร โพรเซสเซอร์ ไมโคร โพรเซสเซอร์ หมาย ถึง หน่วย งาน หลัก ใน การ คิด คำนวณ การ บวก ลบ คูณ หาร การ เปรียบ เทียบ การ ดำ เนิน การ ทางตรรกะ ตลอด จน การ สั่ง การ เคลื่อน ข้อ มูล จาก ที่ หนึ่ง ไป ยัง อีก ที่ หนึ่ง หน่วย ประมวล ผล กลาง นี้ เรียก อีก อย่าง ว่า ซี พียู (Central Processing Unit : CPU)
การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพวิเตอร์ขนาดใหญ๋ แต่อย่างไรกก็ตามพอจะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานดังนี้
1) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
2) สถานีงานวิศกรรม (Engineering Workstation)
ไมโคร
การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพวิเตอร์ขนาดใหญ๋ แต่อย่างไรกก็ตามพอจะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานดังนี้
1) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
2) สถานีงานวิศกรรม (Engineering Workstation)
3) มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
5) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (Super Computer)
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี ขนาด เล็ก บาง คน เห็น ว่า เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ งาน ส่วน บุคคล หรือ เรียก ว่า พี ซี (Personal Computer : PC) สามารถ ใช้ เป็นเครื่องต่อ เชื่อม ใน เครือ ข่าย หรือ ใช้ เป็นเครื่องปลาย ทาง (terminal) ซึ่ง อาจ จะ ทำ หน้า ที่ เป็น เพียง อุปกรณ์ รับ และ แสดง ผล สำหรับ ป้อน ข้อ มูล และ ดู ผล ลัพธ์ โดย ดำ เนิน การ การ ประมวล ผล บนเครื่องอื่น ใน เครือ ข่าย
อาจ จะ กล่าว ได้ ว่า ไมโคร คอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี หน่วย ประมวล ผล กลาง เป็น ไมโคร โพรเซสเซอร ์ ใช้ งาน ง่าย ทำ งาน ใน ลักษณะ ส่วน บุคคล ได้ สามารถ แบ่ง แยก ไมโคร คอมพิวเตอร์ ตาม ขนาด ของเครื่องได้ ดัง นี้
4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
5) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (Super Computer)
ไมโครคอมพิวเตอร์
ไมโครอาจ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้บนโต๊ะ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดอื่นๆ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า หน่วยระบบ มักจะเป็นเครื่องทรงสี่เหลี่ยมซึ่งวางอยู่บนหรือใต้โต๊ะ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น จอภาพ เมาส์ และแป้นพิมพ์ จะเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ
รูปที่ 3 แสดงภาพคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้ำหนักเบาและมีหน้าจอที่บาง หรือมักจะเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะมีขนาดเล็ก แล็ปท็อปสามารถทำงานโดยใช้แบตเตอรี ดังนั้นคุณจึงสามารถนำแล็ปท็อปไปได้ทุกที่ อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปจะไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากจะรวม CPU หน้าจอ และแป้นพิมพ์ไว้อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน หน้าจอจะพับลงบนแป้นพิมพ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
รูปที่ 4 แสดงภาพคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คอมพิวเตอร์มือถือ
คอมพิวเตอร์มือถือ หรือที่เรียกว่า เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรีและเล็กพอที่จะพกพาไปได้ทุกที่ แม้ว่าประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มือถือจะไม่เท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแล็ปท็อป แต่คอมพิวเตอร์มือถือก็มีประโยชน์สำหรับการกำหนดการนัดหมาย การเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์มือถือบางเครื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้น เช่น สามารถใช้โทรศัพท์หรือใช้อินเทอร์เน็ตได้ แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์ คอมพิวเตอร์มือถือมีหน้าจอสัมผัสที่คุณสามารถใช้โดยใช้นิ้วมือ หรือ สไตลัส (อุปกรณ์ชี้ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา)
รูปที่ 5 แสดงภาพคอมพิวเตอร์มือถือ
สถานีงานวิศวกรรม
ผู้
บริษัท
การ
สถานี

รูปที่ 6 แสดงภาพสถานีวิศวกรรมด้วยเครื่อง IBM RS/6000
มินิคอมพิวเตอร์
มิ
มิ

รูปที่ 7 แสดงภาพของมินิคอมพิวเตอร์
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เมนเฟรม
เมนเฟรม
บริษัท
ปัจจุบันเมนเฟรม
รูปที่ 8 แสดงภาพของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ เหมาะกับงาน คำนวณ ที่ ต้อง มี การ คำนวณ ตัว เลข จำนวน หลาย ล้าน ตัว ภาย ใน เวลา อัน รวด เร็ว เช่น งาน พยากรณ์ อากาศ
ที่ ต้อง นำ ข้อ มูล ต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศ ทั้ง ระดับ ภาค พื้น ดิน
และ ระดับชึ้นบรรยากาศ เพื่อ ดู การ เคลื่อน ไหวและ การ เปลี่ยน แปลง ของ อากาศ งาน นี้ จำ เป็น ต้อง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี สมรรถนะ สูง มาก นอก จาก นี้ มี งาน อีก เป็น จำนวน มาก ที่ ต้อง ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่ง มี ความ เร็ว สูง เช่น งาน ควบ คุมขีปนาวุะ
งาน ควบ คุม ทา งอวกาศ งาน ประมวล ผล ภาพ ทางการ แพทย์
งาน ด้าน วิทยา ศาสตร์ โดย เฉพาะ ทางด้าน เคมี เภสัช วิทยา
และ งาน ด้าน วิศวกรรม การ ออก แบบ
รูปที่ 9 แสดงภาพซูเปอร์คอมพิวเตอร์
1.6 การทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็รกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ Output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ
ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ล่ะชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือ ถ้าเป็นการเล่นเกมส์ก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบทจอภาพ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่าที่มากที่สุด หรือน้อยที่สัด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
1.7 วัตถุประสงค์ของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
1.8 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ
ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ
การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ
ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ
อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า
ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม
นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต
และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์
ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร
ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน
และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข
สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น
งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ
และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้
ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง
ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้
ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ
อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ
หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร
ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น
การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง
รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ
ผลการทำงาน
5. งานราชการ
เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ
มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร
ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
6. การศึกษา ได้แก่
การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน
ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน
ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน
การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
สรุปท้ายบท
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ความหลากหลายในรูปแบบการใช้งาน ตลอดจนความสามารถพิเศษอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ทำให้การใช้งานในด้านต่างๆ สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า คนที่ควบคุมหรือใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างประสิทธิด้วยนั่นเอง การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงานที่จะทำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ